เทร ยัง พ่อมดคนใหม่แห่งวงการบาสเอ็นบีเอ

ในแต่ละยุคแต่ละสมัย บาสเกตบอลเอ็นบีเอจะให้กำเนิดมือจ่ายระดับอัจฉริยะมาประดับวงการเสมอ หากย้อนกลับไปช่วงต้นทศวรรษที่ 20 คอบาสเกตบอลรุ่นเก่าหลายคนอาจจะทันผ่านตาพอยต์การ์ดฝีมือดี ผู้มีการจ่ายบอลสุดทึ่งที่ชื่อสตีฟ แนช ปัจจุบันมีรุกกี้หน้าใหม่หนึ่งรายที่ถูกยกไปเทียบกับระดับตำนานอย่างแนช เด็กหนุ่มคนนั้นคือเทร ยัง ชื่อของเทร ยัง เริ่มเป็นที่รู้จักตั้งแต่ปีที่แล้วหลังจากดาวเด่นแห่งมหาวิทยาลัยโอกลาโฮม่าเป็นผู้นำทั้งแต้มและจ่ายในศึก NCAA แถมถูกยกให้เป็นหนึ่งใน 12 ว่าที่บิ๊กเนมของเหล่ารุกกี้ประจำปี 2018/2019 แถม 4 เว็บไซต์สำคัญด้านบาสเกตบอลยังพร้อมใจกันใส่เรตติ้งระดับ 5 ดาวให้การ์ดหนุ่มรายนี้ เทร ยัง ตัดสินใจทิ้งบาสระดับมหาวิทยาลัยสามฤดูกาลที่เหลือเพื่อกระโดดสู่การเป็นนักบาสอาชีพ ยังถูกดราฟท์ตัวเข้าสู่เอ็นบีเอตั้งแต่รอบแรกในลำดับที่ 5 โดยดัลลัส มาเวอริกส์ แต่ด้วยเงื่อนไขในการแลกสิทธิ์และแลกตัวของเหล่าเฟรนไชส์แห่งเอ็นบีเอ เทร ยังถูกคว้าตัวเข้าร่วมทีมโดยแอตแลนต้า ฮอว์กสในเวลาต่อมา ย้อนกลับไปช่วงเล่นให้มหาวิทยาลัยโอกลาโฮม่าในฤดูกาลที่แล้ว ตั้งแต่ไม่กี่เกมแรกที่ยังลงสนาม สกอร์ในเกมและสถิติการจ่ายทำให้ยังถูกจับไปเทียบกับสตีเฟ่น เคอร์รี่ แต่พอเข้าสู่ฤดูกาลแรกของเทร ยังในเอ็นบีเอ นักบาสวัยยี่สิบปีจากเท็กซัสอาจจะไม่ได้เป็นตัวหลักของฮอว์กส แต่ในทุกเกมที่ลงสนามเขามักทำผลงานได้น่าประทับใจเสมอ ตุลาคม 2018 ยังทำไป 35 แต้มกับ 11 แอสซิสต์ในเกมที่ทีมชนะคลีฟแลนด์ คาวาเลียร์ 133-111 ถัดมาในเดือนพฤศจิกายน ยังทำ 17 แอสซิสต์ในเกมเดียวแต่ไม่พอช่วยให้ทีมรอดจากการพ่ายแอลเอ […]

เจมส์ ฮาร์เด้น กับปฏิบัติการโดนถ้วนหน้าทีมละ 30 แต้ม

ในเกมบาสเกตบอลเอ็นบีเอ การทำแต้มสองหลักให้ได้ทุกเกมนั้นว่ายากแล้ว การจะทำแต้มได้อย่างเป็นกอบเป็นกำกับทุกทีมยิ่งยากกว่า แต่นั่นไม่ใช่กับมือยิงดีกรีเอ็มวีพียุคปัจจุบันอย่างเจมส์ ฮาร์เด้น เมื่อยอดนักบาสเครางามทำสถิติยิงไปอย่างน้อย 30 แต้มใส่คู่แข่งร่วมเฟรนไชส์อย่างน้อยทีมละหนในฤดูกาลปกติ การแข่งขันในฤดูกาล 2018/2019 ถือเป็นอีกปีทองของเจมส์ ฮาร์เด้น การ์ดเบอร์หนึ่งของฮูสตัน ร็อกเก็ตส์ หลังจากคว้ารางวัลผู้เล่นทรงคุณค่าของเอ็นบีเอหรือ MVP ในปีที่แล้วมาครอง โดยปีนี้ฮาร์เด้นเดินหน้าทำแต้มเป็นกอบเป็นกำจากคู่แข่งทุกทีม ตลอดการแข่งขัน 70 เกม โดยคู่แข่งทั้ง 29 ทีมต่างโดนฮาร์เด้นส่องห่วงไปมากบ้างน้อยบ้าง แต่อย่างน้อยหนึ่งครั้งที่เจอกันเป็นต้องโดนฮาร์เด้นทำไปเกิน 30 แต้ม ถึงจะบอกว่าฮาร์เด้นทำคะแนนจากทุกทีมได้เกิน 30 แต้ม แต่หกเกมแรกของซีซั่นในเดือนตุลาคม 2018 ฮูสตัน ร็อกเก็ตส์ชนะได้แค่เกมเดียวในนัดที่สองที่ชนะแอลเอ เลเกอร์ส 124-115 ซึ่งฮาร์เด้นทำไป 36 แต้ม และอีกเกมที่เจ้าเคราทำได้ 31 แต้มคือเกมนัดที่สาม ซึ่งแพ้แอลเอ คลิปเปอร์ 112-115 ฮูสตันเริ่มดีขึ้นเมื่อเข้าเดือนพฤศจิกายน โดยลงเล่น 15 เกม สามารถชนะได้ถึง 9 เกมพร้อมกับอีก 6 ทีมที่โดนฮาร์เด้นสอยแต้มเกิน 30 […]

5 ผู้เล่นที่ดีที่สุด ที่ NBA ขอแหวนไว้บนหิ้งให้เป็นตำนานที่โลกต้องจดจำ

สิ่งหนึ่งที่ต่างประเทศเขาชอบทำกันก็คือ การเก็บข้อมูลสถิติต่าง ๆ ซึ่งนับเป็นเรื่องที่ดีมาก ในวงการบาสเกตบอล NBA ลีกบาสที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก ก็ไม่ลืมที่จะเก็บสถิติดี ๆ ที่น่าจดจำไว้ในหลาย ๆ แง่มุมด้วย ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ การเก็บข้อมูล 5 ผู้เล่นตัวจริงของศึกบาสเกตบอล NBA ที่ถูกยกย่องว่าเป็นผู้เล่นในตำนาน ที่สามารถทำให้เกมของ NBA ติดตราตรึงใจคนทั่วโลก จนกลายเป็นผู้เล่นที่ดีที่สุดที่ NBA ขอจารึกไว้ 5 คนนี้จะมีใครบ้างไปดูกัน 1.แมจิก จอห์นสัน กับตำแหน่งสุดยอด point guard แมจิก จอห์นสัน คือ ผู้เล่นที่ใครก็ยอมรับว่าเขาควรได้รับตำแหน่งตำนานแห่งวงการบาสเกตบอล ด้วยความสูงที่ 6 ฟุตกับอีก 9 นิ้ว และตำแหน่ง point guard หรือ การ์ดจ่าย ทำให้เขากลายเป็นที่จดจำในวงการบาสเกตบอลอาชีพอย่างง่ายดาย ด้วยทักษะการควบคุมลูกบาสได้อย่างน่าเหลือเชื่อของเขา ทำให้เขาผู้นี้สามารถทำลูกดับเบิล กับ ทริปเปิล ได้ถึง 138 ครั้งในประวัติการเล่น แมจิก จอห์นสันจึงเป็นตำนานที่น่าจดจำไปโดยปริยาย […]

เมื่อรองเท้าของว่าที่สตาร์เอ็นบีเอระเบิด

รองเท้าบาสเกตบอลถือเป็นอาวุธอย่างหนึ่งของผู้เล่น ด้วยคุณภาพและการออกแบบให้มันเหมาะสมกับการใช้งานทั้งวิ่ง กระโดดและเบรกอย่างต่อเนื่อง รองเท้าบาสแทบจะเป็นหนึ่งในอุปกรณ์กีฬาที่ถูกออกแบบมาให้มีความแข็งแรงทนทานมาก แต่ก็ไม่ใช่ทุกครั้งไป ปลายกุมภาพันธ์ 2019 ในเกม NCAA ระหว่างมหาวิทยาลัยดุ๊กกับมหาวิทยาลัยนอร์ท แคโลไรน่า หนึ่งในผู้เล่นที่ถูกคาดหมายว่าจะกลายเป็นซุปเปอร์สตาร์ในอนาคตของเอ็นบีเอชื่อ ไซออน วิลเลี่ยมสัน กำลังเล่นเกมของเขา จังหวะเหยียดขาในเกมปรากฏว่ารองเท้าของวิลเลี่ยมสันฉีกออกจากกันจนเขาทรงตัวไม่อยู่ ก่อนล้มลงกุมหัวเข่าที่มีอาการเจ็บ รองเท้าข้างซ้ายของวิลเลี่ยมสันฉีกเป็นทางยาวตลอดข้างเท้าด้านนอก ผู้ชมเกมถึงกับตะลึงเพราะมันไม่ใช่เรื่องที่จะเกิดขึ้นง่าย ๆ เรื่องรองเท้าพังกลายเป็นประเด็นฮอตทันที โดยแบรนด์ผู้ผลิตได้ออกมาแก้ต่างว่ามันเป็น “issolated occurrence” หรือพูดง่าย ๆ ว่า เหตุการณ์ที่เกิดได้ในบางครั้ง ซึ่งจากรองเท้าฉีกระหว่างเกมหนึ่งครั้ง เกิดการถกเถียงในวงกว้าง โดยบางส่วนบอกว่าเป็นเรื่องของความบกพร่องในการผลิตของเจ้าของแบรนด์ และบางคนบอกว่าเป็นความผิดของวิลเลี่ยมสันเองที่ใช้รองเท้าผิดสเปคกับการใช้งาน ดร.แน็ต ฮันต์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยเนบลาสก้า ซึ่งทำงานวิจัยและศึกษาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของมนุษย์และสัตว์ ได้รับการร้องขอให้หาคำตอบเรื่องนี้ ซึ่งเนื้อหาของการศึกษาและหาคำตอบประกอบด้วยการเคลื่อนที่ทั้งในแนวราบ แนวดิ่ง แรงปฏิกิริยาของรองเท้ากับพื้นสนามเมื่อนักกีฬาทรงตัวหรือออกตัว แม้จะไม่ได้วัดแรงที่เกิดขึ้นจากการเหยียดเท้าของซิออนโดยตรง แต่ ดร.ฮันต์ก็ชี้ชัดว่าแรงที่เกิดขึ้นเป็นสาเหตุให้รองเท้าข้างนั้นฉีกขาด “รองเท้าที่พังยับแบบที่เกิดกับวิลเลี่ยมสัน เป็นเพราะมันเกิดแรงต้านหลายจุดพร้อมกันบนตัวรองเท้าในจังหวะที่เขาขยับเปลี่ยนทิศทางกะทันหัน” ดร.ฮันต์เริ่มอธิบาย “มันขึ้นอยู่กับมุมสัมผัสของพื้นรองเท้าและพื้นสนาม ซึ่งจากการย้อนดูวิดีโอจะเห็นว่ามุมสัมผัสมันอยู่ที่ 60 องศาจากแกนตั้ง และตรงจุดนี้ไซออนพยายามที่จะทรงตัวด้วยขาซ้ายเพียงข้างเดียว มันเป็นการรับน้ำหนัก 284 ปอนด์ของร่างกายนักกีฬาขนาดใหญ่ และเพื่อให้ทรงตัวอยู่ได้เขาต้องมีแรงรับที่พื้นรองเท้า […]

ช็อต คล็อก เงื่อนไขเวลาเปลี่ยนกระแสบาสให้พุ่งกระฉูด

บาสเกตบอลกลายเป็นที่สุดของความตื่นเต้นอย่างในปัจจุบันต้องยกความดีความชอบให้กติกาที่ปรับปรุงขึ้นในภายหลังที่เรียกว่า ช็อต คล็อก (Shot clock) ย้อนกลับไปในช่วงที่ NBA เกิดปัญหาแฟนบาสเกตบอลเริ่มเหนื่อยหน่ายกับการชมเกม การยิงไร้กติกาเรื่องเวลาในการเล่นเกมบุกทำให้หลายทีมที่นำอยู่สร้างรูปแบบการเล่นฆ่าเวลาเพื่อให้จบลงด้วยชัยชนะ การส่งบอลไปมาไม่ผิดกฏ ไม่ถูกลงโทษและทีมที่ตามหลังอยู่ก็ทำอะไรไม่ได้ หากเข้าไปแย่งบอลรุนแรง อีกฝ่ายก็ได้ครอบครองบอลจากการทุ่มเข้าอยู่ดี เมื่อเป็นแบบนี้สถิติการทำคะแนนช่วงท้ายเกมก็ต่ำมาก หนึ่งในเกมที่ถูกบันทึกไว้ในเรื่องนี้คือนัดที่ฟอร์ท เวย์น พิสตันเอาชนะมินนีอาโพลิส เลเกอร์ 19-18 ในเดือนพฤศจิกายน 1950 เฉพาะในควอเตอร์สุดท้ายพวกเขามีการทำคะแนนแค่ 3-1 ในเกมนั้นพิสตันครองบอล 4 นาทีโดยไม่ยิงทำคะแนน ถัดมาไม่กี่อาทิตย์หลังเกมพิสตันกับเลเกอร์ ในเกมของโรเชสเตอร์ รอยัลส์กับอินเดียน่าโพลิส โอลิมเปี้ยนเกิดเหตุการณ์ครองบอลแต่ไม่ยิงเหมือนกัน มันเป็นเรื่องใหญ่ทันทีสำหรับ NBA ในการเร่งรูปเกมให้เร็วขึ้นและลดการฟาวล์ท้ายเกมลง ในปี 1954 สี่ปีให้หลังของความน่าเบื่อหน่ายในเกมบาสเกตบอล ที่ไซราคิวส์ในนิวยอร์ก ดาเนี่ยล บิอาโซเน่ ผู้ก่อตั้งและเจ้าของสโมสรไซราคิวส์ เนชั่นนอลหรือปัจจุบันคือทีมฟิลาเดลเฟีย  เซเว่นตี้ซิกเซ่อร์ได้เอาแนวคิดในการมีเวลากำหนดให้ฝ่ายรุกต้องทำการชู้ตมาใช้ เขากับลีโอ เฟอร์ริส ผู้จัดการทีมและเอมิล บาร์บอนี่ หัวหน้าแมวมองได้พูดคุยกันที่ลานโบลลิ่งของไบอาโซเน่เกี่ยวกับเรื่องเวลาและคะแนนต่างๆ ไบอาโซเน่บอกว่ามีเกมที่เขาชอบคะแนนของมัน เขาคิดว่าแต่ละทีมชู้ตกันราว 60 ครั้ง หมายความว่ามีจังหวะทำคะแนนประมาณ 120 ครั้งต่อเกม และมันจะใช้เวลา […]

ไอซายาห์ คนจิ๋วนอกสายตาที่กลายมาเป็นดาราในแสงไฟ

ในการดราฟท์ผู้เล่นเข้าเสริมทีมก่อนเปิดฤดูกาลใหม่ของเอ็นบีเอ จะมีนักบาสเกตบอลกลุ่มหนึ่งที่เก่งแต่ไม่เด่นนัก พวกเขาไม่ถูกลิสต์รายชื่อจากแมวมองว่าทีมจะต้องรีบแย่งสิทธิ์คว้าตัวมาก่อนทีมอื่น หรือไม่ก็สามารถเก็บไว้แย่งในรอบหลังได้ เราเรียกนักกีฬากลุ่มนี้ว่าเป็นพวก Low draft picks แต่ก็มีบางคนที่พอเอาเข้าจริงการเล่นกลับไม่ได้โลว์ตามลำดับถูกเลือก ในประวัติศาสตร์เอ็นบีเอที่นักบาสเกตบอลส่วนใหญ่สูงระดับ 6 ฟุตขึ้นไปทั้งนั้น ความสูงแค่ 5 ฟุต 9 นิ้ว (1.75 ม.) ของไอซายาห์ โธมัสเลยทำให้เขาไม่ต่างจากคนแคระในดงมนุษย์ยักษ์ ถึงจะตัวเล็กกว่าใครและเรียนไม่เก่งเอาเสียเลย แต่ในเรื่องบาสเกตบอลแล้ว ไอซายาห์เป็นเด็กเก่งมากในกีฬาที่เขารักนี้ ไอซายาห์มีพรสวรรค์สูง มีความเร็วและเทคนิคแพรวพราวเข้าช่วยลบจุดด้อยเรื่องขนาดตัว เขาสามารถเล่นได้อย่างยอดเยี่ยมตั้งแต่อยู่ไฮสกูลเซ้าท์ เค้นท์ที่คอนเน็คติกัต จนได้รับคัดเลือกเข้าเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยวอชิงตัน ที่วอชิงตัน ยูนิเวอร์ซิตี้ ไอซายาห์ โธมัสได้สวมเสื้อหมายเลข 2 ต่อจากแนต โรบินสัน ผู้เล่นคนดังของมหาวิทยาลัย ซึ่งไอซายาห์ก็ลงระเบิดฟอร์มให้เห็นตั้งแต่เกมแรกในการเล่นโชว์ด้วยการทำ 27 แต้ม หลังจากนั้นก็กลายเป็นผู้เล่นที่สร้างอิมแพ็คขนาดใหญ่ให้ฤดูกาล 2008-2009 ของทีมวอชิงตัน ฮัสกี้ สถิติการทำแต้มเฉลี่ย 16.9 แต้ม 3.2 แอสซิสต์เมื่อจบปีแรก และพาทีมเป็นแชมป์รายการแปซิฟิก เท็น (PAC-10) ด้วยการยิงในช่วงวินาทีสุดท้ายใส่อริโซน่าในปี 2011 ทำให้คนตัวเล็กกลายเป็นยักษ์ได้ […]

โลโก้เอ็นบีเอ โฉมหน้าใหม่ของการขึ้นเป็นเบอร์หนึ่งลีกบาสอเมริกัน

ตอนที่ The National Basketball Association หรือ NBA ก่อตั้งขึ้นในปี 1946 พวกเขาไม่ได้ใช้ชื่อ NBA ตั้งแต่แรก เพราะเดิมพวกเขาใช้ชื่อ The Basketball Association of American หรือ BAA โดยมีทีมเข้ารวมแข่งขัน 11 ซึ่งตอนนั้นอเมริกาก็มีลีกบาสเกตบอลในชื่อ the National Basketball League หรือ ABL อยู่ หลังก่อตั้ง BAA ได้ 3 ปี พวกเขาก็คุยกับทาง ABL และตัดสินใจรวมตัวเป็นการแข่งขันเดียวและใช้ชื่อ NBA ในปี 1949 เป็นต้นมา ทุกอย่างน่าจะไปด้วยดีถ้าไม่ใช่เพราะการมีอีกสมาคมบาสเกตบอลก่อตั้งขึ้น American Basketball Association หรือ ABA ลุกขึ้นมาจัดลีกของตัวเองในปี 1967 แถมยังทำได้ดีเกินหน้าเกินตาด้วยกฏกติกาใหม่ที่ทำให้เกมทั้งวูบวาบ รวดเร็ว และเข้มข้นขึ้นด้วยการมีช็อตคล็อก 30 วินาทีและกฏการยิง […]

 5 ดูโอถ้าอยู่โยงยาวๆ ต้องเขย่าเอ็นบีเอ

เสือสองตัวอยู่ถ้ำเดียวกันไม่ได้ฉันใด สองผู้เล่นที่ยิ่งใหญ่ก็อยู่ร่วมทีมกันได้ยากฉันนั้น และนั่นคือเหตุผลที่น่าเสียดายสำหรับวงการบาสเกตบอลเอ็นบีเอ ที่หากว่าผู้เล่นชั้นเลิศสองคนของทีมจับคู่กันเล่นนานกว่านี้ บางที่พวกเขาน่าจะสร้างผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่กว่าที่มันเป็น เจอร์รี่ สแต็กเฮ้าส์–แกรนต์ ฮิลล์ ระยะเวลา 3 ฤดูกาล 1997-2000 สองสมอลฟอร์เวิร์ดที่เป็นกำลังสำคัญของทีมดีทรอยต์ พิสตันในช่วงปี 1997-2000 เจอร์รี่ สแต็กเฮ้าส์ยิง 23.6 แต้มต่อเกมขณะที่แกรนต์ ฮิลล์กดไป 25.8 แต้มต่อเกม ที่สำคัญทั้งสองคนมาจากมหาวิทยาลัยที่มีระดับความเป็นศัตรูในบาสเกตบอล NCAA เสียด้วย โดยตัวสแต็กเฮ้าส์จบจากนอร์ธ แคโรไลน่า ส่วนฮิลล์มาจากดุ๊ก แต่การทิ้งความเป็นศัตรูต่างสีเสื้อสถาบันมาทำงานร่วมกันอย่างเข้าขา พาดีทรอยต์เข้าเพลย์ออฟสองปีติดก็เป็นสิ่งที่แฟนบอลแห่กันตามดู อัลเลน ไอเวอร์เซ่น–คาร์เมโล่ แอนโธนี่ ระยะเวลา 1.5 ฤดูกาล 2006-2008 ช่วงที่อยู่ฟิลาเดเฟีย เซเว่นตี้ซิกเซ่อร์ อัลเลน ไอเวอร์เซ่นกลายเป็นอัจฉริยะระดับที่เพื่อนร่วมทีมตามไม่ทัน แน่นอนว่าเขาคือผู้เล่นที่โดดเด่นที่ฟิลาเดลเฟีย แต่การย้ายทีมมาแดนเวอร์ นักเก็ตส์ทำให้เขาเจอผู้เล่นระดับเดียวกันอย่างคาร์เมโล่ อันโธนี่ มันช่วยจุดไฟอัจฉริยะที่เหมือนหมดถังของไอเวอร์เซ่นให้ลุกโชติช่วงขึ้นมาอีกครั้ง ไอเวอร์เซ่นกลับมากระสุนฮอตทำไป 26.4 แต้มต่อเกมกับ 7.1 แอสซิสต์ ส่วนคาร์เมโล่ก็ไม่น้อยหน้า 25.7 แต้มต่อเกม มันคือสิ่งที่ทำให้แฟนบอลสนุกในการเข้ามาเชียร์ […]

ชอว์น แบร็ดลี่ย์ โคตรเก่งไม่น่าจะเก่งของเอ็นบีเอ

ถ้าให้นิยามแก่ผู้เล่นในบาสเกตบอลเอ็นบีเอด้วยการรวมเอาความรวดเร็วว่องไว ความแข็งแกร่ง ความแม่นยำ พวกเขาทั้งหมดจะดูเป็นนักกีฬาขึ้นมาทันที แต่ในยุคเก่าของเอ็นบีเอ มันไม่ได้เป็นเช่นนั้น ความสูงกลายเป็นจุดขายสำคัญเพราะมันมีประโยชน์ในการยืนใต้แป้น ผู้เล่นยุคก่อนสมัยใหม่หลายคนเดินเข้าสู่แสงไฟของเอ็นบีเอโดยใช้ความสูงนำทาง และหนึ่งในนั้นคือชอว์น แบร็ดลี่ย์ นักบาสเกตบอลของความสูง 2.29 เมตรจากบริกแฮม ยัง ยูนิเวอร์ซิตี้ในรัฐยูท่าห์ ซึ่งฟิลาเดลเฟีย เซเว่นตี้ซิกเซ่อร์ดราฟท์เข้าทีมเป็นอันดับสองของการดราฟท์ในปี 1993 ชอว์นเกิดในช่วงที่ครอบครัวถูกส่งไปประจำการในกองแพทย์ของกองทัพสหรัฐที่ฐานทัพในเยอรมันช่วงมีนาคม 1972 หลังจากนั้นถึงได้เดินทางกลับมายังคาสเซิ่ลเดล, ยูท่าห์เพื่อมีชีวิตแบบเด็กอเมริกัน แต่ความที่ชอว์นนั้นสูงเกินมาตรฐานเด็กทั่วไปทำให้เขากลายเป็นคนที่แตกต่าง สาเหตุความสูงมาจากพันธุกรรมแน่นอนเพราะแม่ของเขาซึ่งเตี้ยที่สุดในครอบครัวยังสูงถึง 190 เซนติเมตร ในการเล่นบาสเกตบอลตั้งแต่เด็ก ชอว์นไม่มีทักษะในการเลี้ยง ไม่มีความเร็ว กระโดดไม่สูง แต่สิ่งที่ทำให้เขาโดดเด่นก็คือการยืนตั้งท่าแล้วเขย่งเพื่อยกมือบล็อกการชู้ตของคู่แข่ง หรือไม่ก็การกระโดดชู้ตที่คู่แข่งน้อยคนจะสูงพอยกมือบล็อก แค่นั่นก็มากพอทำให้ชอว์นได้เป็นผู้เล่นชั้นเลิศในระดับมัธยม แค่ความสูงอย่างเดียวก็พาชอว์นเข้าเรียนมหาวิทยาลัยได้ทั่วสหรัฐแล้ว ไม่นับผลงานที่จับต้องได้ในกีฬาบาสเกตบอลด้วยซ้ำ แต่ชอว์นเลือกบริกแฮม ยัง ยูนิเวอร์ซิตี้ (BYU) มหาวิทยาลัยในยูท่าห์เพราะมันอยู่ไม่ไกลบ้าน และแค่การเข้าร่วมทีมในฐานะเฟรชชี่ของชอว์นในปี 1990-91 เขาก็กลายร่างเป็นสตาร์ได้แล้ว โดยการลงเล่น 34 เกมให้บีวายยูเขาก็สร้างสถิติใหม่ให้ NCAA ด้วยการบล็อกรวมไป 177 ครั้งและบล็อกเฉลี่ยต่อเกม 5.2 ครั้ง เฉพาะเกมเจออีสเทิร์น เคนตั๊กกี้ที่บล็อกไป 14 […]

ทริปเปิ้ล-ดับเบิ้ลอัจฉริยะ เบ็น ซิมมอนส์ ราชาผู้เล่นหน้าใหม่

แม้วงการบาสเกตบอลอเมริกันจะถือเป็นเบอร์หนึ่งของโลก แต่ก็ใช่ว่ามันจะจำกัดผู้เล่นระดับอัจฉริยะไว้เพียงแค่คนอเมริกันเท่านั้น เพราะข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกไปที่ทะเลซีกใต้ บนแผ่นดินออสเตรเลียเด็กหนุ่มคนหนึ่งเกิดมาเพื่อเป็นดาวประดับเอ็นบีเอ “เบ็น ซิมมอนส์” เจ้าหนูซิมมอนส์เกิดที่เมลเบิร์น, ออสเตรเลียหลังการพบกันของเดฟ พ่อชาวอเมริกันที่เป็นนักกีฬาบาสเกตบอลกับจูเลีย แม่ม่ายลูกติดชาวออสเตรเลียในปี 1991 หลังจากนั้นอีก 5 ปีในปี 1996 ซิมมอนส์ก็เกิดมาในสถานะน้องเล็กของพี่อีก 5 คน การมีพ่อเป็นอดีตนักกีฬาบาสเกตบอลและเป็นโค้ชให้ทีมในเมืองนิวคาสเซิ่ล รวมถึงเติบโตอยู่บนประเทศที่ชอบเกมรักบี้ ทำให้เบ็น ซิมมอนส์เลือกที่จะเล่นมันทั้งสองอย่าง แถมทำได้ดีอย่างน่าทึ่ง ซิมมอนส์ย้ายกลับมาเมลเบิร์ลในตอนอายุ 10 ขวบ พร้อมกับเริ่มเล่นบาสเกตบอลให้ทีมน็อกซ์ ไรเดอร์ ขณะเดียวกันก็ขยับจากเกมรักบี้ไปเป็นเกมที่ดุดันกว่าอย่างออสเตรเลี่ยน รูลส์ แต่เมื่อถึงทางเลือกว่าจะเดินสายบาสเกตบอลหรือออสเตรเลี่ยน รูลส์ ซิมมอนส์ตัดสินใจเลือกบาสเกตบอลเพียงเพราะโค้ชออสเตรเลี่ยน รูลส์ไม่ยอมให้เขาเล่นเป็นกองหน้าและตัวเตะจุดโทษ ทั้งที่ตำแหน่งที่โค้ลเสนอให้คือผู้เล่นรักซ์แมน ซึ่งเป็นคนสำคัญและเด่นสุดของเกมออสเตรเลี่ยน รูลส์ด้วยซ้ำไป อายุ 15 ปี เบ็น ซิมมอนส์เลือกเล่นบาสเกตบอลจริงจัง เขาได้ทุนสถาบันกีฬาของออสเตรเลีย ก่อนที่จะเดินทางมาอเมริกาเป็นครั้งแรกในการเข้าแคมป์ของเด็กมีแววในเชิงบาสเกตบอลของออสซี่ ก่อนจะติดทีมชาติออสเตรเลียรุ่นอายุไม่เกิน 17 ปี เขาตัดสินในเดินทางมาสานต่อความสามารถที่อเมริกา โดยเลือกมอนต์เวอร์เด้ในฟลอริด้าเป็นฐานฝึกฝน ก่อนช่วยให้มอนต์เวอร์เด้ อะคาเดมี่ทำสถิติ 28-0 ในฤดูกาล 2013/2014  ปิดด้วยการพาทีมคว่ำโอ๊กค์ […]